วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับน้ำกระด้าง วิธีแก้ไข และเครื่องกรองน้ำทำเอง

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับน้ำกระด้าง วิธีแก้ไข และเครื่องกรองน้ำทำเอง

น้ำกระด้างคืออะไร

น้ำกระด้างคือน้ำที่มีแคลเซียมไอออน แมกนีเซียมไอออน หรือ ไอออนที่ประจุบวกสองละลายอยู่ ได้แก่ น้ำคลอง น้ำบ่อ น้ำประปา น้ำบาดาล น้ำทะเลเป็นต้น

น้ำกระด้างแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. น้ำกระด้างชั่วคราว หมายถึงน้ำกระด้างที่ แคลเซี่ยมไฮโดรเจนคาร์บอเนต [Ca(HCO3)2] แมกนีเซี่ยมไฮโดรเจนคาร์บอเนต [Mg(HCO3)2] เจือปนอยู่ เมื่อได้รับความร้อนแล้วจะตกตะกอน และได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระเหยไป เช่นน้ำในแม่น้ำและลำคลอง
  2. น้ำกระด้างถาวร หมายถึงน้ำกระด้างที่มี แคลเซียมคลอไรด์ [CaCl2] แคลเซียมซัลเฟต [CaSO4] แมกนีเซียมคลอไรด์ [MgCl2] และแมกนีเซียมซัลเฟต [MgSO4] เจือปนอยู่ เช่นน้ำทะเลและมหาสมุทร

หน่วยของความกระด้างของน้ำวัดเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร ในรูปของแคลเซี่ยมคาร์บอเนตดังนี้

  • 0-50 ppm สภาพเป็นน้ำอ่อน
  • 50-100 ppm ค่อนข้างอ่อน
  • 100-150 ppm กระด้างเล็กน้อย
  • 150-250 ppm ค่อนข้างกระด้า
  • 250-350 ppm กระด้าง
  • มากกว่า 350 ppm กระด้าง

วิธีแก้ไขน้ำกระด้างชั่วคราว

  • โดยการต้ม

Ca(HCO3)2 + ความร้อน CaCO3 + H2O + CO2

Mg(HCO3)2 + ความร้อน MgCO3 + H2O + CO2

MgCO3 + H2O + ความร้อน Mg(OH)2 + H2O + CO2

  • โดยการกรองด้วยระบบเรซิ่นธรรมดา
วิธีแก้ไขน้ำกระด้างถาวร
  • แก้ไขโดยการใช้ระบบ RO ซึ่งมีต้นทุนสูงมาก

ไส้กรองเรซิ่น (Resin) มี 2 ชนิด

1. ชนิดแลกเปลี่ยนประจุบวก ทำจากพลาสติกที่ทำเป็นรูปเม็ดกลมเล็ก ๆ เคลือบด้วยสารพวกโซเดียม (Na)

การกรองด้วยเรซิ่นเป็นการกรองโดยใช้หลักการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange) โดยเรซิ่นจะจับกับแคลเชี่ยม แมกนีเซี่ยม แล้วปล่อยประจุโซเดี่ยมลงสู่น้ำ ทำให้น้ำที่ผ่านการกรองมีความนุ่มนว

2. ชนิดแลกเปลี่ยนประจุลบ ทำจากพลาสติดเป็นรูปเม็ดกลมเล็ก ๆ เคลือบด้วยสารพวกคลอไรด์ (Chloride) จะแลกเปลี่ยนประจุกับพวกไนเตรต (Nitrate) ซันเฟต(Sulfate) ที่มาจากการปนเปื้อนเช่น ผงซักฟอก

การดูแลสารกรองเรซิ่น โดยการใช้น้ำเกลือเข้มข้น 20% ไหลผ่านสารกรองเรซิ่น แล้วแช่ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จึงปล่อยให้น้ำผ่านเครื่องกรองเพื่อไล่น้ำเกลือที่ตกค้างออกจากเครื่อง สารกรองเรซิ่นสมควรเปลี่ยนอย่างน้อยทุก 1 ปี หรือเมื่อมีการแตกหักของเม็ดเรซิ่นเกินร้อยละ 20